วันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2553

iSuppli เผยต้นทุนผลิต iPad 52%

รายงานข่าวล่าสุดยังคงเป็นเรื่องของกระแสไอแพด (iPad) ที่ร้อนแรงต่อเนื่องมาตลอดทั้งสัปดาห์ แม้กระทั่งเรื่องของต้นทุนการผลิตแท็บเล็ตบรรลือโลกเครื่องนี้ ซึ่งล่าสุดมีการเปิดเผยข้อมูลออกมาโดยบริษัท iSuppli ที่ระบุว่า ต้นทุนการผลิต iPad ต่อเครื่องตกอยู่ที่ประมาณ 259.60 เหรียญฯ หรือคิดเป็น 52% ของราคาจำหน่ายในท้องตลาด

ข้อมูลดังกล่าวเปิดเผยเมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยหลังจากที่บริษัท iSuppli ได้แยกชิ้นส่วนของไอแพด เพื่อพิจารณาต้นทุนในการผลิต iPad เวอร์ชั่น Wi-Fi พบว่า ต้นทุนในส่วนของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิสก์ทีใช้ในการผลิตตกอยู่ที่ ประมาณ 250.60 เหรียญฯ ส่วนต้นทุนในการผลิตเป็นเครื่องที่สมบูรณ์อยู่ที่ประมาณ 9 เหรียญฯ เมื่อรวมกันออกมา ต้นทุนของไอแพดตกอยู่ทีประมาณครึ่งหนึ่งของราคาขายที่ 499 เหรียญฯ

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขต้นทุนการผลิตดังกล่าวไม่ได้หมายความว่า แอปเปิ้ล (Apple) จะได้กำไร 50% เนื่องจากมันมีต้นทุนที่ใช้ในการวิจัยผลิตภัณฑ์ การตลาด และองค์ปะรกอบอื่นๆ อีกที่ยังไม่ได้พิจารณาบวกเพิ่มเข้าไป ซึ่งทางแอปเปิ้ลไม่ได้เปิดเผยตัวเลขต้นทุนเหล่านี้ออกมา นั่นหมายความว่า ข้อมูลจาก iSuppli เป็นข้อมูลเบื้องต้นทีทำให้คุณได้ทราบว่า เงินทีจ่ายไปนั้นเทียบกับมูลค่าของฮาร์ดแวร์ทั้งชิ้นคิดเป็นสัดส่วนเท่าใด

สำหรับ ต้นทุนที่แพงที่สุดอยู่ที่จอระบบสัมผัสของไอแพดที่สูงถึบ 109.50 เหรียญฯ หรือคิดเป็น 44% ของต้นทุนชิ้นส่วนทีใช้ในการผลิตทั้งเครื่อง ลำพังจอแก้วแสดงผล 9.7" จะมีต้นทุนอยู่ที่ 65 เหรียญฯเท่านั้น ส่วนต้นทุนที่แพงเป็นอันดับสองก็คือ หน่วยความจำ 6GB ที่มีต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 30 เหรียญฯ ตามด้วยแบตเตอรี่ 21 เหรียญฯ

แอปเปิ้ล เริ่มขายไอแพดเมื่อวันเสาร์ที 3 เมษายนที่ผ่านมา โดยเริ่มต้นที่ราคา 499 เหรียญฯ (รุ่นทีมีหน่วยความจำมากขึ้นจะเป็น 599 และ 699 เหรียญฯตามลำดับ) ส่วนเวอร์ชัน 3G จะเริ่มจำหน่ายปลายเดือนนี้ โดยเริ่มต้นที่ราคา 629 เหรียญฯ

เคดิต ARIP.co.th

วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

ตะลึง!!! ยูเอสบีชาร์จเจอร์ซุก"โทรจัน"

ไม่มีใครทราบเหมือนกันว่า มันเกิดขึ้นได้อย่างไร? แต่รายงานข่าวล่าสุด USCERT (United States Computer Emergency Readiness Team) หรือ หน่วยงานเตรียมเฝ้าระวังภัยคุกคามฉุกเฉินทีเกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์ในสหรัฐฯ ได้รับคำแจ้งเตือนว่า ผู้ใช้ยูเอสบีชาร์จเจอร์ของ Energizer อาจทำต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่ไม่คาดฝัน เมื่อมีการตรวจพบว่า ซอฟต์แวร์ทีมากับอุปกรณ์มีม้าโทรจันติดมาด้วย ในขณะที่ผู้ใช้กำลังชาร์จแบตเตอรี่ด้วย Energizer DUO USB Charger ซอฟต์แวร์ที่มาด้วยกันกลับเป็นที่ซ่อนตัวของม้าโทรจัน (Trojan horse) ที่คอยทำหน้าทีเปิดทางให้แฮคเกอร์สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ที่ทำงานด้วยระบบปฏิบัติการ Windows ได้ ทางด้าน Energizer กล่าวว่า Energizer DUO ที่ใช้ชาร์จแบตเตอรี่ NiMH ได้หยุดผลิตไปแล้ว ดังนั้นม้าโทรจันที่พบไม่ได้เกียวกับทางบริษัทแต่อย่างใด
Energizer DUO ได้วางจำหน่ายในสหรัฐฯ ละตินอเมริกา ยุโรป และเอเซียตั้งแต่ในปี 2007 โดยซอฟต์แวร์บน Windows ที่มาพร้อมกับชาร์จเจอร์ได้รับการออกแบบให้แสดงสถานะการชาร์จของแบตฯให้ทราบว่า เต็ม หรือยัง? เมื่อซอฟต์แวร์ติดตั้งไปแล้ว มันจะสร้างไฟล์ชื่อว่า Arucer.dll ซึ่งความจริงมันคือโทรจันที่คอยฟังคำสั่งจากพอร์ตหมายเลข 7777 ของ TCP

โทรจันที่ซ่อนตัวอยู่ในซอฟต์แวร์ Energizer DUO จะสามารถดาวน์โหลด และสั่งรันไฟล์ต่างๆ เพื่อส่งไฟล์ทีมันขโมยจากพีซีของเหยื่อ และยอมให้เขียนข้อมูลใน Windows Registry ได้ ดังนั้นผู้ใช้ควรลบไฟล์ Arucer.dll จากโฟลเดอร์ system32 ใน Windows แล้วรีบู๊ตเครื่อง เพื่อหยุดการทำงานของโทรจัน บ้านเราไม่แน่ใจว่า มีจำหน่าย หรือไม่? หากคุณผู้อ่านท่านใดที่ใช้งานอยู่ ลองตรวจสอบดูด้วยนะครับ

ข้อมูลจาก: ARIP

วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553

เป้าหมายใหญ่ "มัลแวร์" ไม่ใช่ MS

แมคอาฟี่ (McAfee) บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ระบบรักษาความปลอดภัยบนคอมพิวเตอร์ได้ออกรายงาน เกี่ยวกับภัยคกคามที่ผู้ใช้ต้องเผชิญในปี 2010 โดยข่าวร้ายคือ มันไม่เพียงแต่จะมีภัยคุกคามเพิ่มขึ้นเท่านั้น พวกมันยังขยายตัวไปยังส่วนการใช้งานอื่นๆ อีกด้วย ส่วนข่าวดีก็เห็นจะเป็นประเด็นที่ฝ่ายกฎหมายจะให้มีผลบังคับเข้มงวดมากขึ้น กว่าในอดีตสำหรับการต่อกรกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

จากรายงานที่มีการเปิดเผยออกมา ทางบริษัทแมคอาฟี่ระบุว่า ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นกับเว็บไซต์โชเชียลเน็ตเวิร์ก (Facebook, Twitter) ระบบรักษาความปลอดภัยของธนาคาร และบอตเน็ตจะเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับการโจมตีผู้ใช้ทีเป็นกลุ่มเป้าหมา ธุรกิจต่างๆ และแอพพลิเคชัน ซึ่งในรายละเอียดทางแมคอาฟี่เน้นว่า เว็บไซต์โซเชียลจะโดนโจมตีด้วยรูปแบบของภัยคุกคามที่ซับซ้อนขึ้น HTML 5 (ภาษาเขียนเว็บเพจล่าสุด) จะสร้างโอกาสใหม่ให้กับผู้เขียนมัลแวร์ทั่วโลก อันตรายจากไฟล์แนบอีเมล์ยังคงดำเนินต่อไป โทรจันปล้นเงินจากแบงค์จะฉลาดมากขึ้น และการใช้บอตเน็ตโจมตีจะแผ่ขยายวง เพิ่มจำนวนมากขึ้น
ในกรณีของเฟซบุ๊กนอกจาก Koobface ที่เล่นงานผู้ใช้ในช่วงปีนี้ ในปีหน้าแมคอาฟี่เชื่อว่า จะมีภัยคุกคามประเภทนี้เพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากเป็นเว็บโซเชียลที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด โดยเฉพาะการแพร่กระจายผ่านแอพพลิเคชัน ซึ่งเมื่อผู้ใช้คลิก Yes เพื่ออนุญาตให้แอพพลิเคชันสามารถเข้าถึงบัญชีผู้ใช้ในเฟซบุ๊กได้ นั่นก็หมายความว่า คุณกำลังเปิดให้มันสามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดในบัญชีผู้ใช้ของคุณได้นั่น เอง ดังนั้นผู้ใช้ควรระวังแอพฯอันตรายที่มักจะขอผ่านเข้าไปในเฟซบุ๊กด้วยวิธีไม่ ปกติ ผู้ใช้ควรจะติดตั้งแอพฯที่ให้บริการจากในเฟซบุ๊กเท่านั้น เนื่องจากมันผ่านการตรวจสอบแล้ว ส่วน Twitter ช่องโหว่อันตรายยังคงเป็นเรื่องของการใช้ URL อย่างย่อในการหลอกเข้าโจมตี รวมถึงการติดตั้งบ็อตเน็ตเข้าไปในระบบผ่านทางลิงค์ย่อเหล่านี้
ประเด็นทีอาจจะเป็นข่าวดีสำหรับไมโครซอฟท์ที่ตกเป็นเป้าหมายหลักของมัลแวร์ มานานแสนนาน เนื่องจากแมคอาฟี่ระบุว่า ซอฟต์แวร์ของ Adobe โดยเฉพาะ Acrobat Reader และ Flash กำลังตกเป็นเป้าหมายใหญ่ของเหล่าบรรดาผู้สร้างมัลแวร์ สำหรับคุณผู้อ่านที่ต้องการรายงานโดยละเอียดสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี!!!

เคดิต ARIP