วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Firefox บราวเซอร์พันล้าน (ดาวน์โหลด)

ปีที่แล้ว Firefox 3.0 ของ Mozilla ได้ลงกินเนสบุ๊กด้วยสถิติซอฟต์แวร์ที่มีการดาวน์โหลดมากที่สุดภายในหนึ่งวัน มาปีนี้ Firefox 3.5 อาจจะไม่ได้ทำลายสถิติที่เคยทำไว้สำเร็จ แต่ทางบริษัทกำลังจะก้าวสู่หลักไมล์อันใหม่ที่ยิ่งใหญ่กว่า นั่นก็คือ การมียอดาวน์โหลดรวมทั้งสิ้น 1,000 ล้านครั้ง!!
Mozilla ประกาศเมื่อวานนี้ว่า ยอดดาวน์โหลด Firefox บราวเซอร์จิ๋วแต่แจ๋วของทางบริษัทกำลังจะถึงหนึ่งพันล้านครั้งแล้ว โดยหากการคาดการณ์ของบริษัทไม่ผิดพลาด ยอดดาวน์โหลดจะแตะตัวเลขสิบหลักภายในสัปดาห์นี้ และเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในความสำเร็จดังกล่าว ทางบริษัทกำลังจะเปิดตัวเว็บไซต์ใหม่ในวันจันทร์นี้ โดยมีชื่อว่า onebillionplusyou.com ซึ่งยังไม่มีการเปิดเผยว่า งานนี้นอกจากจะเปิดขวดฉลองแคมเปญจ์แล้ว การเปิดเว็บไซต์นี้จะมีบิ๊กเซอร์ไพรซ์อะไรออกมาด้วย หรือเปล่า?


"Mozilla เดินทางมายาวนานตั้งแต่เริ่มต้นก้าวแรก จนถึงวันนี้ เรามีความภูมิใจมากที่สามารถก้าวถึงหลักไมล์ที่ยิ่งใหญ่นี้ได้ ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวเกิดจากการเติบโตของชุมชนโมซิลล่า(Mozilla community) และผู้ที่ให้การสนับสนุนไฟร์ฟอกซ์ (Firefox supporter)" ถ้อยแถลงจากโมซิลล่า "สำหรับเว็บไซต์ที่เปิดขึ้นใหม่จะเป็นศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับการดาวน์โหลด 1 พันล้านครั้ง รวมถึงข้อมูลประชากรศาสตร์ของผู้ใช้ Firefox แต่เราอยากให้ผู้ใช้เข้าไปเยี่ยมชมด้วยตนเองในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ดีกว่า" ปัจจุบันข้อมูลจากเว็บไซต์ hitslink บราวเซอร์ Firefox มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 22.39% ในขณะที่ IE 65.85%

เคดิต ARiP Magazine

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ผลวิจัยชี้ Bing ไม่"ปิ๊ง"อย่างที่คิด

ในขณะที่ Bing ของไมโครซอฟท์ (microsoft) กำลังเติบโตอย่างช้าๆ เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดผู้ใช้เสิร์ชจากกูเกิ้ล (Google) แต่น่าเสียดายว่า ช่วงเวลาที่ผ่านมา Bing ทำได้แค่เพียงแทะเล็มส่วนแบ่งเท่านั้น เนื่องจากผู้ใช้ส่วนใหญ่ยังคงนิยมการสืบค้นแบบเดิมๆ ของกูเกิ้ล
Hitwise เว็บไซต์วิจัยสถิติการใช้เสิร์ชบนอินเทอร์เน็ต โดยเก็บข้อมูลผู้ใช้ในสหรัฐฯ 10 ล้านคนกับการใช้งานมากกว่า 1 ล้านเว็บไซต์ ซึ่งทำให้ตัวเลขสถิติของที่นี่มีความน่าเชื่อถือเพียงพอสำหรับการวัดผลสำเร็จของอภิมหาสงครามเสิร์ชระหว่าง Bing และ Google ได้ โดยหลังจากการเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 1 เดือน Hitwise รายงานว่า กูเกิ้ลยังสามารถครองส่วนแบ่งตลาดผู้ใช้ในสหรัฐฯ ได้เป็นอย่างดี โดยมีส่วนแบ่งผู้ใช้สูงถึง 74% ในขณะที่ Microsoft Bing มีผู้ใช้แค่เพียง 5.25% เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม แม้ Bing จะไม่สามารถครอบครองส่วนแบ่งตลาดได้มากอย่างที่ไมโครวอฟท์ตั้งใจ แต่การแข่งขันนี้ยังต้องวัดกันในระยะยาว เนื่องจากผู้ใช้แม้จะแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ในตอนนี้ แต่ก็เป็นผู้ใช้ที่มีพฤติกรรมการใช้งานที่น่าจะเป็นแฟนพันธุ์แท้ของ Bing
ส่วนตัวเลขสถิติจาก ComScore รายงานว่า Bing ของไมโครซอฟท์ทำให้ส่วนแบ่งตลาดการใช้งานเสิร์ชของไมโครซอฟท์เพิ่มขึ้นจาก 11.3% เป็น 12.1% ภายในหนึ่งสัปดาห์ (อาจจะเป็นกระแสก็ได้) โดยก่อนหน้าจะเปิดตัว Bing ไมโครซอฟท์มีส่วนแบ่งตลาดผู้ใช้เสิร์ช 9.1% ในขณะที่ตัวเลขของกูเกิ้ลตอนนั้นยังอยู่ที่ 65% ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ตัวเลขแค่ไม่่กี่เดือน คงจะไม่สามารถใช้วัดความสำเร็จ หรือชี้ชะตาของ Bing ว่า หมดโอกาสแล้ว คงจะไม่ได้ คงต้องติตดามตัวเลขกันอีกที หลังจากผ่านไปเป็นปี ซึ่งตอนนั้น ถึงจะบอกได้ชัดเจนว่า อนาคตของ Bing จะออกหัว หรือก้อย



เคดิต ARiP Magazine

"ไอโฟน"รุ่นต่อไปจะทำอะไรได้บ้าง?

สิทธิบัตรล่าสุดที่แอปเปิ้ล (Apple) เพิ่งจดไปนั้น จะอธิบายถึงระบบปฏิบัติการของไอโฟน (iPhone) รุ่นต่อไป ซึ่งมีความสามารถที่่น่าทึ่งมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การระบุ (หรือรู้จัก) สิ่งของต่างๆ (Object identification) รู้จำหน้าเจ้าของ (face recognition) ตลอดจนอินเตอร์เฟซใหม่สำหรับการรับส่งข้อความ และการปรับแต่งเสียงพูด (voice output customisation) ว้าว!!!



Live object identification: สำหรับฟังก์ชันนี้จะคล้ายๆ กับบริการ Point & Find ของ Nokia ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถใช้กล้องของไอโฟนถ่ายภาพวัตถุ หรือสิ่งของต่างๆ เพื่อให้มันรู้จำ และค้นหาข้อมูลที่เกียวข้องกับสิ่งของที่อยู่ในภาพที่ถ่ายนั้น (แผนที่ร้านที่จำหน่าย เว็บไซต์ที่ชอปปิ้งได้เลย ฯลฯ)


Face detection & recognition: สิทธิบัตรนี้จะเป็นรายละเอียดของวิธีทำให้เทคโนโลยีรู้จำใบหน้าเข้าไปอยู่ในไอโฟน ไอแมค และอุปกรณ์ต่างๆ เรียกได้ว่า คิดครั้งเดียวตอบโจทย์การเข้ากันได้ของทุกผลิตภัณฑ์ของแอปเปิ้ลนั่นเอง สำหรับเทคโนโลยีนี้จะทำงานในสองลักษณด้วยกันคือ ตรวจจับใบหน้าเจ้าของ กับใบหน้าของผู้ที่ตรงกับภาพที่อยู่ในไอโฟน

Text message filtering: กลไกการคัดกรองข้อความที่สามารถใช้ได้กับการรับเข้า และส่งออกอีเมล์ ตลอดจนรูปแบบการส่งข้อความในลักษณะอื่นๆ โดยจะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถตั้งคีย์เวิร์ด หรือข้อความตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่ต้องการรับ หรือไม่ต้องการก็ได้

Smarter messaging interface: ส่วนติดต่อผู้ใช้สำหรับบริการข้อความที่ฉลาดขึ้นกว่าเดิม โดยสามารถส่งข้อความไปยังผู้รับหลายๆ คนพร้อมกัน รวมถึงแจ้งเตือนในกรณีที่ข้อความส่งไปไม่ถึงผู้รับทุกคน โดยในสิทธิบัตรเดียวกันนี้ แอปเปิ้ลยังอ้างว่า มีวิธีการที่ดีกว่าสำหรับการจัดการกับข้อความที่ยังไม่ได้อ่านอีกด้วย ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้น ก็คงต้องติดตามรายละเอียดกันต่อไป

เคดิต ARiP Magazine

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Acer ออก "เน็ตบุ๊ก" Timeline?

รายงานข่าวล่าสุด เอเซอร์ (Acer) เพิ่มความร้อนแรงให้กับตลาดคอมพิวเตอร์พกพาด้วยการออก Acer Aspire Timeline 1810T ที่มีขนาดจอ 11.6 นิ้ว (ตัวเครื่องคล้าย Aspire One 751) ดูภายนอกคล้ายเน็ตบุ๊กทั่วไป แต่แทนที่ภายในจะใช้โพรเซสเซอร์ Intel Atom หน่วยความจำ 1GB และฮาร์ดดิสก์ 160GB กลับกลายเป็นว่า Acer Aspire 1810T เลือกใช้โพรเซสเซอร์ ULV ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า และประหยัดพลังงานมากกว่าเน็ตบุ๊กถ้าหากจะบอกว่า Acer Aspire Timeline 1810T เป็นเน็ตบุ๊ก ก็ต้องถือว่า มันเป็นการแหกกฎอย่างสุดขั้ว ทั้งขนาดของหน้าจอที่ใหญ่เกิน 10 นิ้วไปจนถึงโพรเซสเซอร์ที่ไม่ได้ใช้ Atom โดยหน้าจอมีขนาดใหญ่ถึง 11.6 นิ้ว และใช้โพรเซสเซอร์ Intel ULV SU3500 1.4GHz ส่วนหน่วยความจำทีสามารถเพิ่มได้ถึง 4GB พร้อมด้วยพอร์ต HDMI สำหรับต่อกับจอไฮเดฟ และแบตเตอรี่สามารถใช้งานได้นานถึง 8 ชั่วโมง ดูไปแล้วมันเหมือนเอา Acer Timeline มาแต่งตัวเป็น"เน็ตบุ๊ก"ยังไงยังงั้น

นอกจากนี้แผงวงจรหลักของ Acer Aspire Timeline 1810T ยังมีออปชันเพิ่มเติมสำหรับการเชื่อมต่อไร้สาย 3G, Bluetooth และ Wi-Fi 802.11 b/g/n ส่วนชิปเร่งกราฟิกจะเป็น Intel GMA 4500MHD สามารถแสดงผลที่ความละเอียด 1,366x768 พิกเซล และเล่นวิดีโอไฮเดฟ 720p ทำงานด้วยระบบปฏิบัติการ Windows Vista และมีออปชันอัพเกรดเป็น Windows 7 เรียกได้ว่า ถ้าเป็นเน็ตบุ๊ก สเป็กและความสามารถของมันก็ถือว่า ไฮโซที่สุดเมื่อเทียบกับเน็ตบุ๊กในท้องตลาด แต่ถ้าเป็นโน้ตบุ๊กก็นับว่า มันเป็นการผสานประสิทธิภาพการทำงานกับการพกพาสะดวก และประหยัดพลังงานได้อย่างลงตัวทีเดียว อย่างไรก็ตาม ในส่วนของราคายังไม่มีการเปิดเผยออกมาแต่อย่างใด (คาดว่า ช่วงราคน่าจะอยู่ระหว่างเน็ตบุ๊กกับโน้ตบุ๊ก)


เคดิต ARiP Magazine

ระวัง!!!"ลิงค์แบบย่อ"ในอีเมล์,ทวิตเตอร์

รายงานข่าวแจ้งว่า บริการย่อ URL ให้สั้นลงอย่างเช่น tinyURL.com ซึ่งเว็บไซต์ twitter ได้นำไปใช้กับบริการของตน เพื่อทำให้ผู้ใช้มีพื้นที่เหลือสำหรับพิมพ์ข้อความได้มากขึ้น ล่าสุดพวกมันกำลังถูกใช้เป็นเครื่องมือของเหล่าสแปมเมอร์ และแฮคเกอร์ที่ต้องการซ่อน URL อันตรายไว้เบื้องหลัง URL สั้นๆ เหล่านี้



MessageLabs (แผนกงานของไซแมนเทค) รายงานว่า จากสแปมที่ตรวจพบทั่วโลกประมาณ 2% มีการใช้ URL แบบย่อ ซึ่งทำให้ผู้อ่านไม่ทราบลิงค์ที่แท้จริง และเผลอคลิ้กได้โดยง่ายดาย "เราพบว่ามีเว็บไซต์แค่สองแห่งคือ UnTiny หรือ TinyURL Decocer ที่ช่วยให้ผู้อ่านสามารถตรวจสอบ URL ต้นฉบับจากที่มันถูกย่อมาได้ ทั้งนี้หากผู้ใช้ไม่แน่ใจ URL อย่างย่อที่ได้รับ ควรตรวจสอบ(ลิงค์ต้นฉบับจากเว็บไซต์เหล่านี้)ก่อนที่จะคลิ้ก"


TinyRUL Decoder เป็นบริการง่ายๆ ที่สามารถแสดง URL ต้นฉบับที่ถูกสร้างขึ้นโดย TinyURL เท่านั้น ในขณะที่ UnTiny จะสนับสนุนการค้นหา URL ต้นฉบับจากบริการย่อลิงค์มากกว่า 160 แห่ง พร้อมทั้งทำ add-on ชื่อว่า Quick Use ที่สามารถแสดง URL ต้นฉบับจากในช่อง Location ของบราวเซอร์ Firefox ได้เลย
MessageLabs รายงานเพิ่มเติมอีกด้วยว่า สแปมเมอร์สามารถใช้บริการย่อ URL เพื่อปกปิด URL อันตรายของตนได้โดยอัตโนมัติ ทำให้การอำพรางลิงค์ในลักษณะนี้เติบโตอย่างรวดเร็ซ ซึ่งหากผู้ใช้ไม่มั่นใจ ควรตรวจสอบ URL แบบย่อก่อนทุกครั้งที่จะคลิ้ก ไม่เช่นนั้นอาจตกเป็นเหยื่อสแปมเมอร์ หรือผู้ไม่หวังดีโดยไม่รู้ตัว

เคดิต ARiP Magazine